สำหรับผู้กำลังต้องการที่จะมีธุรกิจเป็นของตนเอง การมีบุคคลเป็นต้นแบบและสร้างแรงบันดาลใจถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะเข้ามาช่วยเติมเต็มในเรื่องของวิธีการคิดและปฏิบัติงานเพื่อเจริญรอยตามความสำเร็จที่ได้มุ่งหมายไว้
เซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน
Photo courtesy of Getty Image |
หลายคนน่าจะรู้จักเขาดีในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัทในเครือเวอร์จิ้น (Virgin) อันโด่งดังที่มีสาขาธุรกิจอยู่ทั่วทุกภาคพื้นภูมิภาคในโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย เซอร์ริชาร์ด แบรนสัน ถือเป็นนักธุรกิจหนุ่มใหญ่ไฟแรงที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของธุรกิจมากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำความคิดและความฝันมาปรับใช้และสร้างให้เกิดขึ้นบนโลกแห่งความเป็นจริงทางธุรกิจ หรือที่เรียกกันง่ายๆว่านักขายฝันนั่นเอง โดยเขาเริ่มธุรกิจครั้งแรกด้วยวัยเพียง 15 ปีจากการทำนิตยสารรายเดือนของมหาวิทยาลัย ซึ่งก็เหมือนกับนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จต่างๆที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ที่ต่างเริ่มต้นการทำธุรกิจด้วยวัยที่มีอายุน้อยๆกันทั้งนั้น จากนั้นจึงเริ่มลงหลักปักฐานสร้างธุรกิจอย่างเป็นจริงเป็นจังในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อบันเทิงและเสียงดนตรีจนขยับขยายไปสู่สื่อสารมวลชนแขนงอื่นๆ และพัฒนากลายมาเป็นสายการบินเชิงพาณิชย์ในที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของธุรกิจกว่าอีก 360 บริษัท ซึ่งสิ่งที่เป็นจุดเด่นในการทำธุรกิจของเขาคือ ความอดทนและมีเป้าหมายในการทำธุรกิจที่แน่วแน่มั่นคงพร้อมที่จะฟันฝ่าอุปสรรคทุกอย่างเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายความฝันที่ตนเองได้วางเอาไว้ และใช้เวลาที่มีหน่วยนับเป็นจำนวนวินาทีในการสร้างโอกาสทางธุรกิจอยู่ตลอดเวลา กล้าที่จะคิดธุรกิจที่บางคนอาจจะมองว่านอกกรอบแต่นั่นถือเป็นความท้าทายสำหรับเขาที่จะต้องทำให้สำเร็จ และที่น่าสังเกตมากที่สุดก็คือแบรนสันจะมีความสุขอย่างที่สุดในเวลาทำงานจึงทำให้ผลงานที่ออกมามีประสิทธิภาพ และด้วยความที่เป็นคนไม่หยุดนิ่งผู้คนจึงมักจะให้ความสนใจเขาอยู่เสมอเรียกได้ว่าจะขยับไปทางไหนก็เป็นข่าว บางครั้งจึงเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ไปในตัว
เฮนรี่ ฟอร์ด
Photo Courtesy of mustangsandiego |
คืออีกหนึ่งตัวอย่างของคำว่าถึงตัวตายแต่ชื่อยังคงอยู่ได้เป็นอย่างดี ฟอร์ดมีอายุอยู่ในช่วงราวปีพุทธศักราช 2406-2490 เขาเป็นนักธุรกิจที่โดดเด่นมากในบทบาทของนักประดิษฐ์ที่นำพาสิ่งประดิษฐ์นั้นเข้ามาสู่การผลิตและการจัดจำหน่ายสินค้าจนเกิดเป็นกระบวนการทางธุรกิจขึ้นมา จึงถือเป็นต้นแบบอย่างแท้จริงสำหรับผู้ประกอบการที่มีความคิดและไอเดียในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาขาย นอกจากนี้เขายังเป็นนักธุรกิจที่ยอดเยี่ยมและครบเครื่องไปเสียทุกด้านหนึ่งในนั้นที่ดูจะเป็นจุดเด่นก็คือในเรื่องของวิสัยทัศน์โดยเฉพาะการเข้าใจตลาดอย่างแท้จริงในเรื่องของดีมานด์และซัพพลายของระบบเศรษฐกิจ เพราะไม่ว่าจะทำอะไรออกมาเขาก็สามารถขายได้หมดและได้ในราคาที่ดีที่สุดอีกต่างหาก และยังเป็นปรมาจารย์ในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้สินค้ามีราคาถูกลงทำให้สามารถกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคได้ทุกๆกลุ่มและมีความคลอบคลุมมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ทำให้เฮนรี่ ฟอร์ด คือผู้ที่เข้าใจในเรื่องของการใช้กลไกทางตลาดอย่างแท้จริง สมควรที่ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาดูไว้เป็นแบบอย่าง
จอร์จ โซรอส
Photo courtesy of The Lens |
ฉายาพ่อมดทางการเงินถือเป็นใบประกันความสำเร็จในการทำธุรกิจเป็นอย่างดี ซึ่งเชื่อว่าคนไทยจำนวนมากคงจะจดจำชื่อของราชาทางการเงินจอร์จโซรอสผู้นี้ได้อย่างไม่มีวันลืมเลือนอย่างแน่นอน กับสิ่งที่เขาผู้นี้ได้กระทำไว้กับประเทศไทยในการโจมตีค่าเงินบาทจนนำไปสู่ภาวะวิกฤติที่ทั่วโลกขนานนามว่าต้มยำกุ้ง เขาถือเป็นผู้ร้ายในสายตาคนไทยมานานจากวิกฤตการณ์ครั้งนั้น แต่ถ้าลองมองดูให้ลึกซึ้งและแยกเรื่องส่วนตัวและความเป็นชาตินิยมออกจากกันจะเห็นว่าโซรอสก็มีส่วนที่น่าจะนำมาใช้เป็นแบบอย่างในการสร้างแรงบันดาลใจได้ โดยเฉพาะในเรื่องที่เด่นที่สุดของเขาก็คือ การวางแผนทางการเงินบวกกับความสามารถในการพยากรณ์ความน่าจะเป็นของตลาดทุนภายในอนาคตได้โดยอาศัยปัจจัยทางด้านข้อมูลมาเป็นตัววิเคราะห์ ซึ่งจากความสามารถที่กล่าวมานี้ทำให้เขาสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาลจากการเก็งกำไรค่าเงิน นอกจากนี้ความสามารถในเรื่องการฉกฉวยช่วงชิงเมื่อคู่ต่อสู้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็เป็นคุณสมบัติที่เขามีพร้อมกับวิญญาณเพชฌฆาตที่พร้อมจะขย้ำเหยื่อทางธุรกิจโดยปราศจากความปราณีคือสิ่งที่น่าจะนำมาใช้เป็นแบบอย่างในการทำธุรกิจยุคปัจจุบัน
มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก
Photo courtesy of Paul Sakuma/AP |
ชื่อนี้ยิ่งจะทำให้ใครหลายคนเกิดความฉงนสงสัยและงงว่าเขาผู้นี้เป็นใครกันแน่ และถ้าจะถามว่ารู้จักเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ชื่อว่า Facebook หรือไม่ ฟันธงได้เลยว่ามากกว่าร้อยละ 90 ต่างรู้จักกันทุกคนและก็กำลังใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันด้วย และบุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจอันดับที่ 9 เขาผู้นั้นก็คือ มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีชื่อว่า Facebook นั่นเอง โดยเขาจัดเป็นมหาเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดในสหรัฐอเมริกามีอายุเพียงแค่ 24 ปีเท่านั้น แต่สิ่งที่น่าสนใจคือหัวคิดในการทำธุรกิจของเขาเรียกได้ว่าเข้าขั้นเทพเลยทีเดียว โดยเขาเลือกที่จะไม่คิดค่าตอบแทนเลยสักบาทเดียวอันเป็นแนวความคิดทางการตลาดในเรื่องของการแบ่งปันช่วยเหลือกันเสียมากกว่า ซึ่งหลายบริษัทพยายามที่จะเสนอเงินเป็นจำนวนมหาศาลให้มากมายเพื่อขอซื้อเว็บไซต์ไปจากเขา แต่ได้รับการปฏิเสธด้วยแนวความคิดที่แตกต่างออกไปที่ว่าเขาต้องการที่จะสร้างสิ่งที่อยู่ได้ในระยะยาว และเขาไม่สนสิ่งอื่นใดนอกจากนั้น ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวสามารถนำมาปรับใช้ในการทำธุรกิจยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี ที่ไม่ได้เห็นคุณค่าของเงินมากกว่าการสร้างพึงพอใจ
ลี กาชิง
Photo courtesy of AP |
ลี กาชิง นักธุรกิจชาวจีนเจ้าของสมญานาม "ซุปเปอร์แมน" คืออีกหนึ่งตำนานเดินดินนักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จบนเวทีระดับโลกอย่างแท้จริง ลี กาชิงเกิดที่ประเทศจีนก่อนจะเดินทางเข้ามาในเขตการปกครองพิเศษฮ่องกงในยุคที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรในฐานะผู้ลี้ภัย เรื่องราวชีวิตของเขาน่าสนใจมากและมันมีส่วนในการสร้างแรงบันดาลใจให้นักธุรกิจสายเลือดใหม่หลายต่อหลายคน เขาต้องออกจากโรงเรียนเมื่อตอนอายุ 15 ปี เพื่อรับหน้าที่เสาหลักในการดูแลแม่และน้องๆแทนที่ผู้เป็นพ่อที่เสียชีวิต กาชิงคือต้นแบบของผู้ที่ทำงานหนักตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มๆเขาเริ่มจัดตั้งบริษัทแห่งแรกที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลาสติกตั้งแต่อายุยังไม่ทันจะครบ 30 ปี จากนั้นจึงเริ่มขยับขยายธุรกิจไปยังสาขาอื่นๆโดยมีบริษัท Cheung Kong (Holdings) เป็นบริษัทแม่และยังเป็นเจ้าของบริษัท Hutchison Whampoa Ltd. และบริษัทอื่นๆที่อยู่ในเครืออีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มบริษัทของเขาคือผู้ทรงอิทธิพลอย่างแท้จริงเกี่ยวกับธุรกิจด้านการสื่อสารทั้งในประเทศฮ่องกง จีน และยุโรป มีทรัพย์สินมากกว่าสามหมื่นสี่พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ลักษณะที่โดดเด่นของเขาในการทำธุรกิจก็คือมีความกล้าได้กล้าเสียพร้อมที่จะลงทุนทำในสิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้เขายังชอบอ่านหนังสือเพื่อศึกษาหาความรู้อยู่เป็นประจำอีกด้วยเรียกได้ว่าเป็นหนอนหนังสือตัวยงเลยทีเดียว ซึ่งปัจจุบันบริษัทของเขาคือผู้ให้บริการโทรศัพท์ในระบบ 3G ที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยในรอบปีที่ผ่านมาบริษัทฮัทชินสันของเขามีกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นถึง 40%
มีอยู่สองสิ่งเท่านั้นที่ผู้ประกอบการหน้าใหม่มีเหมือนกันและเท่าเทียมกับทั้ง 10 บุคคลผู้สร้างแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจ นั่นก็คือ หนึ่งลมหายใจที่จะใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งต่างให้เกิดขึ้นด้วยตนเอง และสองเวลาในการทำความฝันสิ่งที่นึกคิดอยากจะทำให้เป็นความจริง ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้คือหัวใจและองค์ประกอบสำคัญที่มีให้กับผู้ประกอบการทุกคน อยู่ที่ว่าผู้ประกอบการจะสามารถนำทั้งอย่างนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุดขนาดไหนนั่นเอง
ต๊อบ อิทธิพัทธ์ เจ้าของธุรกิจพันล้าน เถ้าแก่น้อย
ต๊อบ อิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์ เศรษฐีร้อยล้านคนนี้ ก่อนหน้านี้เขาถูกตราหน้าว่าเป็นคนไม่เอาถ่าน ไม่สนใจเรียน ชีวิตของ ต๊อบ มีแต่คำว่า "เกม" เท่านั้น โดยต๊อบเริ่มเล่นเกมออนไลน์ Everquest มาตั้งแต่ ม.4 ถึงขนาดสะสมแต้มจนรวยที่สุดในเซิร์ฟเวอร์ และกลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในเกมดังกล่าว จนมีฝรั่งมาขอซื้อไอเท็มเด็ด ๆ ไอเท็มเจ๋ง ๆ ที่หายากในเกมจากเขา และนั่นก็เป็นการเริ่มต้นสร้างรายได้ของต๊อบ ซึ่งการซื้อขายไอเท็มเกมดังกล่าว บวกกับการที่เป็นผู้ทดสอบระบบเกมในฐานะคนเล่น ก็สร้างรายได้ให้เขาเป็นกอบเป็นกำ จนมีเงินเก็บเป็นหลักแสนบาทเลยทีเดียว
ด้วยความที่เป็นเด็กติดเกม ต๊อบ อิทธิพัทธ์ จึงเรียนจบชั้นระดับมัธยมมาได้อย่างยากลำบาก และเรียนต่อระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งตอนนั้นนั่นเองเขาก็เริ่มก้าวเข้าสู่ถนนแห่งเส้นทางธุรกิจ พร้อมตั้งใจจะทำความฝันของตัวเองให้เป็นจริงด้วยการมีธุรกิจเป็นของตัวเอง
และในช่วงจังหวะที่เกมออนไลน์เริ่มไม่เป็นที่นิยมเหมือนเคย เขาก็หารายได้จากช่องทางอื่น ทั้งขายเครื่องเล่นวีซีดี ดูทำเลเปิดร้านกาแฟหน้ามหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่เป็นที่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งเขาได้ไปเดินงานแฟร์ช่องทางธุรกิจ ซึ่งในงานนั้นมีเฟรนไชส์จากประเทศญี่ปุ่นมาออกบู๊ท ด้วยความที่เขาเป็นคนชอบกินเกาลัดอยู่แล้ว เลยสนใจธุรกิจนี้เป็นพิเศษ จึงเข้าไปสอบถามค่าเฟรนไชส์เกาลัดดังกล่าว แต่ทว่าราคาสูงเกินกำลังที่เขามี เลยขอแค่เช่าตู้คั่วเกาลัดเท่านั้น แล้วมาสร้างเฟรนไชส์เป็นของตัวเอง และเมื่อวันที่เขาต้องไปเซ็นสัญญาซื้อขายเกาลัดที่ห้างแห่งหนึ่ง ก่อนออกจากบ้านเขาได้ยินคุณพ่อพูดกับเพื่อนว่า "ลูกอั้วกำลังจะเป็นเถ้าแก่น้อยแล้ว" คำว่าเถ้าแก่น้อยที่ได้ยินตอนนั้นนั่นเอง ที่เป็นที่มาของชื่อ "เถ้าแก่น้อย" สาหร่ายทอดกรอบในปัจจุบัน
เศรษฐีร้อยล้าน ได้ใช้เวลาเพียงแค่ปีกว่า ๆ ขยายเฟรนไชส์เกาลัดเถ้าแก่น้อย ได้กว่า 30 สาขา และเมื่อเขาเห็นว่า เฟรนไชส์ของเขาขายได้หลายแห่งแล้ว เขาจึงคิดจะทำสินค้าอื่นเพิ่มเติม จึงลองนำอย่างอื่นมาวางขายในร้าน ไม่ว่าจะเป็น เกาลัด ลูกท้อ ลำไยอบแห้ง และสาหร่าย แต่สินค้าที่ขายดีที่สุดในตอนนั้นกลับไม่ใช่เกาลัด แต่กลายเป็นสาหร่ายทอดกรอบ ซึ่งนั่นเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เขาอยากต่อยอดธุรกิจในการทำสาหร่ายทอดตรา "เถ้าแก่น้อย" อย่างจริงจัง
หลังจากนั้นเขาก็พยายามศึกษา หาความรู้เกี่ยวกับสาหร่าย และได้ลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง โดยเริ่มจากบรรจุซองพลาสติกไปฝากตามร้านค้าต่าง ๆ แต่ก็มีอุปสรรคมากมาย ทั้งสินค้าหมดอายุไว รูปแบบแพ็กเกจจำหน่ายไม่สวย จึงทำให้เขากลับมานั่งคิดอีกครั้งว่า จะทำอย่างไรให้สินค้าเก็บไว้ได้นาน มีแพ็คเกจที่น่าสนใจ และสามารถขายในร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 ได้
แต่พรสวรรค์ทางการตลาดของเขาก็ได้จุดประกายความคิดอีกครั้ง เขาได้นำกระแสเกาหลี กระแสญี่ปุ่น เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ โดยอยากให้ผู้บริโภคจดจำสินค้าของ เขาได้ทันทีที่แรกเห็น เขาจึงทำโลโก้เป็นเด็กน่ายิ้ม ดูน่ารัก มีความสุข อีกทั้งถือธงเพื่อให้รู้ว่า ถึงจะเป็นของกินเล่นแต่มีคุณค่าทางอาหารสูง รวมไปถึงเพิ่มรสชาติต่าง ๆ ให้หลากหลาย ตอบรับความต้องการของแต่ละคน
และเมื่อเขาได้ปรับปรุงสินค้าเรียบร้อยแล้ว เขาจึงนำสาหร่ายเถ้าแก่น้อยไปเสนอแก่ 7-11 อีกครั้ง และจากนั้นก็ได้รับการติดต่อกลับมาในทันทีว่า "ภายใน 3 เดือน สินค้าคุณพร้อมจะวางขายในร้าน 7-11 จำนวน 3,000 สาขาทั่วประเทศ หรือไม่" เมื่อได้ยินดังนั้น คำถามก็ประดังประเดเข้ามาในหัวของเขาว่า เขาต้องทอดสาหร่ายกี่แผ่น ใช้คนทอดกี่คน และจะทำทันหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นมีคำถามอยู่เต็มหัวไปหมด แต่เขาก็ตอบกลับ 7-11 ไปเกือบจะทันทีว่า พร้อมครับ!!!
หลังจากที่ ต๊อบ อิทธิพัทธ์ ตอบตกลงไปแล้ว เขาก็ต้องกับมานั่งกุมขมับ กับปัญหา และสิ่งที่ตามมาทั้งการสร้างโรงงาน เงินทุน แหล่งวัตถุดิบ การนำเข้าเครื่องจักรต่าง ๆ เพื่อผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน พร้อมส่งขายแก่ 7-11 กว่า 3,000 สาขา ในระยะเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น... เขาจึงเดินหน้าด้วยการเริ่มต้นหาทุนสร้างโรงงาน โดยการไปขอกู้ยืมจากธนาคารแห่งหนึ่ง แต่ก็ได้รับการปฏิเสธกลับมา นั่นเป็นเพราะว่า ในตอนนั้นเขามีอายุเพียง 20 ปี เท่านั้น และเมื่อเขากู้เงินไม่ผ่าน เขาจึงยอมตัดใจขายธุรกิจเฟรนไชส์เกาลัดทิ้ง ซึ่งเฟรนไชน์กว่า 30 สาขาดังกล่าว สร้างรายได้ให้เขาเดือนละกว่าล้านบาทเลยทีเดียว แต่กว่าที่เขาจะตัดสินใจขายเฟรนไชส์แรกที่เขาปลุกปั้นมากับมือ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและสำคัญต่อจิตใจของเขามาก แต่เขาก็ต้องขายด้วยความเสี่ยง เพราะเขาไม่รู้เลยว่า ธุรกิจสาหร่ายนั้น จะดีเท่ากับธุรกิจเกาลัดหรือไม่
ด้วยความที่เป็นเด็กติดเกม ต๊อบ อิทธิพัทธ์ จึงเรียนจบชั้นระดับมัธยมมาได้อย่างยากลำบาก และเรียนต่อระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งตอนนั้นนั่นเองเขาก็เริ่มก้าวเข้าสู่ถนนแห่งเส้นทางธุรกิจ พร้อมตั้งใจจะทำความฝันของตัวเองให้เป็นจริงด้วยการมีธุรกิจเป็นของตัวเอง
และในช่วงจังหวะที่เกมออนไลน์เริ่มไม่เป็นที่นิยมเหมือนเคย เขาก็หารายได้จากช่องทางอื่น ทั้งขายเครื่องเล่นวีซีดี ดูทำเลเปิดร้านกาแฟหน้ามหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่เป็นที่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งเขาได้ไปเดินงานแฟร์ช่องทางธุรกิจ ซึ่งในงานนั้นมีเฟรนไชส์จากประเทศญี่ปุ่นมาออกบู๊ท ด้วยความที่เขาเป็นคนชอบกินเกาลัดอยู่แล้ว เลยสนใจธุรกิจนี้เป็นพิเศษ จึงเข้าไปสอบถามค่าเฟรนไชส์เกาลัดดังกล่าว แต่ทว่าราคาสูงเกินกำลังที่เขามี เลยขอแค่เช่าตู้คั่วเกาลัดเท่านั้น แล้วมาสร้างเฟรนไชส์เป็นของตัวเอง และเมื่อวันที่เขาต้องไปเซ็นสัญญาซื้อขายเกาลัดที่ห้างแห่งหนึ่ง ก่อนออกจากบ้านเขาได้ยินคุณพ่อพูดกับเพื่อนว่า "ลูกอั้วกำลังจะเป็นเถ้าแก่น้อยแล้ว" คำว่าเถ้าแก่น้อยที่ได้ยินตอนนั้นนั่นเอง ที่เป็นที่มาของชื่อ "เถ้าแก่น้อย" สาหร่ายทอดกรอบในปัจจุบัน
เศรษฐีร้อยล้าน ได้ใช้เวลาเพียงแค่ปีกว่า ๆ ขยายเฟรนไชส์เกาลัดเถ้าแก่น้อย ได้กว่า 30 สาขา และเมื่อเขาเห็นว่า เฟรนไชส์ของเขาขายได้หลายแห่งแล้ว เขาจึงคิดจะทำสินค้าอื่นเพิ่มเติม จึงลองนำอย่างอื่นมาวางขายในร้าน ไม่ว่าจะเป็น เกาลัด ลูกท้อ ลำไยอบแห้ง และสาหร่าย แต่สินค้าที่ขายดีที่สุดในตอนนั้นกลับไม่ใช่เกาลัด แต่กลายเป็นสาหร่ายทอดกรอบ ซึ่งนั่นเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เขาอยากต่อยอดธุรกิจในการทำสาหร่ายทอดตรา "เถ้าแก่น้อย" อย่างจริงจัง
หลังจากนั้นเขาก็พยายามศึกษา หาความรู้เกี่ยวกับสาหร่าย และได้ลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง โดยเริ่มจากบรรจุซองพลาสติกไปฝากตามร้านค้าต่าง ๆ แต่ก็มีอุปสรรคมากมาย ทั้งสินค้าหมดอายุไว รูปแบบแพ็กเกจจำหน่ายไม่สวย จึงทำให้เขากลับมานั่งคิดอีกครั้งว่า จะทำอย่างไรให้สินค้าเก็บไว้ได้นาน มีแพ็คเกจที่น่าสนใจ และสามารถขายในร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 ได้
แต่พรสวรรค์ทางการตลาดของเขาก็ได้จุดประกายความคิดอีกครั้ง เขาได้นำกระแสเกาหลี กระแสญี่ปุ่น เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ โดยอยากให้ผู้บริโภคจดจำสินค้าของ เขาได้ทันทีที่แรกเห็น เขาจึงทำโลโก้เป็นเด็กน่ายิ้ม ดูน่ารัก มีความสุข อีกทั้งถือธงเพื่อให้รู้ว่า ถึงจะเป็นของกินเล่นแต่มีคุณค่าทางอาหารสูง รวมไปถึงเพิ่มรสชาติต่าง ๆ ให้หลากหลาย ตอบรับความต้องการของแต่ละคน
และเมื่อเขาได้ปรับปรุงสินค้าเรียบร้อยแล้ว เขาจึงนำสาหร่ายเถ้าแก่น้อยไปเสนอแก่ 7-11 อีกครั้ง และจากนั้นก็ได้รับการติดต่อกลับมาในทันทีว่า "ภายใน 3 เดือน สินค้าคุณพร้อมจะวางขายในร้าน 7-11 จำนวน 3,000 สาขาทั่วประเทศ หรือไม่" เมื่อได้ยินดังนั้น คำถามก็ประดังประเดเข้ามาในหัวของเขาว่า เขาต้องทอดสาหร่ายกี่แผ่น ใช้คนทอดกี่คน และจะทำทันหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นมีคำถามอยู่เต็มหัวไปหมด แต่เขาก็ตอบกลับ 7-11 ไปเกือบจะทันทีว่า พร้อมครับ!!!
หลังจากที่ ต๊อบ อิทธิพัทธ์ ตอบตกลงไปแล้ว เขาก็ต้องกับมานั่งกุมขมับ กับปัญหา และสิ่งที่ตามมาทั้งการสร้างโรงงาน เงินทุน แหล่งวัตถุดิบ การนำเข้าเครื่องจักรต่าง ๆ เพื่อผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน พร้อมส่งขายแก่ 7-11 กว่า 3,000 สาขา ในระยะเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น... เขาจึงเดินหน้าด้วยการเริ่มต้นหาทุนสร้างโรงงาน โดยการไปขอกู้ยืมจากธนาคารแห่งหนึ่ง แต่ก็ได้รับการปฏิเสธกลับมา นั่นเป็นเพราะว่า ในตอนนั้นเขามีอายุเพียง 20 ปี เท่านั้น และเมื่อเขากู้เงินไม่ผ่าน เขาจึงยอมตัดใจขายธุรกิจเฟรนไชส์เกาลัดทิ้ง ซึ่งเฟรนไชน์กว่า 30 สาขาดังกล่าว สร้างรายได้ให้เขาเดือนละกว่าล้านบาทเลยทีเดียว แต่กว่าที่เขาจะตัดสินใจขายเฟรนไชส์แรกที่เขาปลุกปั้นมากับมือ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและสำคัญต่อจิตใจของเขามาก แต่เขาก็ต้องขายด้วยความเสี่ยง เพราะเขาไม่รู้เลยว่า ธุรกิจสาหร่ายนั้น จะดีเท่ากับธุรกิจเกาลัดหรือไม่
ในขณะที่ธุรกิจกำลังก้าวหน้า ต๊อบ อิทธิพัทธ์ ได้ตัดสินใจดร๊อปเรียนไว้ตอนปี 1 เพื่อนำเวลามาทำธุรกิจส่วนตัวอย่างเต็มตัว ส่วนทางด้านเงินที่ขายเฟรนไชส์เกาลัด ก็นำมาลงทุนกับสาหร่ายทั้งหมด โดยการสร้างโรงงานผลิตสาหร่ายทอด ซึ่งมีพนักงานก็คือครอบครัวของเขาทุกคน และคนงานอีกเพียงแค่ 6-7 คนเท่านั้น ทุกคนทำงานอย่างหนัก ยิ่งช่วงใกล้ส่งสินค้าให้กับทาง 7-11 ครอบครัวและคนงานของเขา แทบไม่ได้หลับได้นอน ทอดสาหร่าย และบรรจุภัณฑ์ แต่ก็สำเร็จ เขาสามารถบรรทุกสาหร่ายเถ้าแก่น้อยเต็มคัน ขับไปส่งศูนย์จำหน่าย 7-11 ได้สำเร็จ
จากนั้นเป็นต้นมา สาหร่าย "เถ้าแก่น้อย" ก็ทะยานสู่ตลาดวัยรุ่น และผู้บริโภคที่ชื่นชอบสาหร่ายทอดกรอบได้สำเร็จ ส่วน ต๊อบ ก็กลายเป็นนักธุรกิจหนุ่มใหม่ไฟแรง เปลี่ยนสถานะจากเศรษฐีร้อยล้าน กลายเป็นเศรษฐีพันล้านได้อย่างสำเร็จ
ส่วนเรื่องการเรียนของ ต๊อบ อิทธิพัทธ์ นั้น ตอนนี้เขามีวุฒิการศึกษาสูงสุดเพียงแค่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่านั้น ซึ่งตอนนี้เขาก็ได้ลงเรียนอีกครั้งที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งแม้ว่าเขาจะเชื่อว่า ประสบการณ์ไม่ได้มาจากทฤษฎีในห้องเรียน แต่มันมาจากการลงมือปฏิบัติก็ตาม แต่ที่เขาเรียนนั่นก็เพื่ออยากจะให้พ่อแม่ได้ภูมิใจ และอยากถ่ายรูปรับปริญญาร่วมกับครอบครัวเพียงเท่านั้น...
จากนั้นเป็นต้นมา สาหร่าย "เถ้าแก่น้อย" ก็ทะยานสู่ตลาดวัยรุ่น และผู้บริโภคที่ชื่นชอบสาหร่ายทอดกรอบได้สำเร็จ ส่วน ต๊อบ ก็กลายเป็นนักธุรกิจหนุ่มใหม่ไฟแรง เปลี่ยนสถานะจากเศรษฐีร้อยล้าน กลายเป็นเศรษฐีพันล้านได้อย่างสำเร็จ
ส่วนเรื่องการเรียนของ ต๊อบ อิทธิพัทธ์ นั้น ตอนนี้เขามีวุฒิการศึกษาสูงสุดเพียงแค่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่านั้น ซึ่งตอนนี้เขาก็ได้ลงเรียนอีกครั้งที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งแม้ว่าเขาจะเชื่อว่า ประสบการณ์ไม่ได้มาจากทฤษฎีในห้องเรียน แต่มันมาจากการลงมือปฏิบัติก็ตาม แต่ที่เขาเรียนนั่นก็เพื่ออยากจะให้พ่อแม่ได้ภูมิใจ และอยากถ่ายรูปรับปริญญาร่วมกับครอบครัวเพียงเท่านั้น...